วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Fast Ethernet

Fast Ethernet

เช่นเดียวกับเทคโนโลยีเครือข่ายอื่น ๆ ระบบเครือข่าย Fast Ethernet สามารถทำงานบนสื่อสายสัญญาณ ต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้ดีบนเครือข่ายแบบนี้ ได้แก่ สายตีเกลียวแบบ Unshield Twisted Pair (UTP) แบบ Categories 5 และ 3 รวมทั้งสาย Fiber Optic
ระบบเครือข่าย LAN เช่นระบบ Ethernet และ Fast Ethernet จัดได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ไม่ขึ้นอยู่กับสายสื่อสัญญาณที่ใช้ หมายความว่า การทำงานขั้นพื้นฐานของมันไม่ขึ้นกับสายสัญญาณที่ใช้งานอยู่ การทำงานขั้นพื้นฐานได้แก่ กฎกติกาการเข้าถึง (Access) เครือข่าย เช่น CSMA/CD เป็นเรื่องของการ Interface ระหว่าง LAN Card หรือ NIC (Network Interface Card) หาใช่อยู่ที่สายสัญญาณไม่

สถาปัตยกรรมเครือข่าย Fast Ethernet เป็นเครือข่ายที่มีรูปแบบที่เรียกว่า Modular หรือประกอบด้วยชั้นของการทำงานอย่างเป็นระบบ


ภาพที่ 1


จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นระดับชั้น MAC ของ LAN Card หรือ NIC ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Repeater Hub ทางสายสัญญาณ (ระดับชั้น MAC นี้เป็นระดับชั้นย่อยในระดับชั้น Data Link Layer หรือระดับชั้น 2 ใน OSI Model ที่เรียกว่า PHY เป็นส่วนของการเชื่อมต่อที่ทำงานบน Layer 1 หรือ Physical Layer ใน OSI Model



ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งและเห็นได้ชัดคือ ระบบเครือข่าย Ethernet ทั่วไปสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบบัส (BUS) และแบบ Star ขณะที่เครือข่าย Fast Ethernet สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ Star เท่านั้น และจะต้องเชื่อมต่อระหว่าง Repeater Hub กับสถานีการทำงานหรือคอมพิวเตอร์โดยตรงเท่านั้น นอกจากนี้ระบบเครือข่าย Fast Ethernet ไม่สนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยสาย Coaxial ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กับเครือข่าย Ethernet ธรรมดา อย่างไรก็ดีระบบเครือข่าย Fast Ethernet ที่ได้รับมาตรฐาน IEEE 802.3u สามารถรองรับการเชื่อมต่อด้วยสื่อสายสัญญาณดังต่อไปนี้


มีคำถามว่าระบบเครือข่าย Fast Ethernet สามารถใช้สายตีเกลียวชนิด Shield ที่สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้หรือไม่ คำตอบคือ มาตรฐานการเดินสายสัญญาณของระบบนี้ ไม่ได้ระบุความต้องการที่จะใช้สายระบบเครือข่าย Ethernet ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของชุดเชื่อมต่อ (Connector) สำหรับสาย STP เช่น DB-9 เป็นต้น ยิ่งไปกว่านี้ ท่านจะไม่มีโอกาสได้เห็น LAN Card ที่ใช้ Connector แบบ DB-9 แน่นอน

ระบบเครือข่าย Ethernet ธรรมดา และ Fast Ethernet มักจะถูกเรียกว่าเป็นเครือข่ายที่ทำงานแบบ Haft-Duplex ซึ่งหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ Repeater Hub จะใช้กฎกติกาการเข้าสูเครือข่ายเพื่อใช้งานภายใต้กฎกติกา CSMA/CD ตามปกติ มิใช่ กฎกติกา Full Duplex

ระบบ Haft-Duplex หมายถึงการสื่อสารบนเครือข่ายของคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นไปในรูปแบบผลัดกันรับหรือส่ง จะรับและส่งในคราวเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากภาคการรับและการส่งข้อมูลจะใช้ช่องสัญญาณเดียวกัน แต่ถ้าหากเป็นแบบ Full-Duplex จะมีการแยกสายสัญญาณออกมา สำหรับการรับและส่งข้อมูลโดยเฉพาะ ดังเช่น 100 Base-TX (ดังภาพ 2) ซึ่งมีการแยกคู่สายสัญญาณออกเป็น 2 คู่ คู่หนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกคู่หนึ่งสำหรับรับข้อมูล

ภาพที่ 2


การเชื่อมต่อทางกายภาพของ 100Base-TX และ 100Base-FX ระหว่าง LAN Card กับ Repeater Hub (ดังภาพ 2) จัดว่าเป็น Full-Duplex อย่างแท้จริง โดยมีการแยกเส้นทางสำหรับการรับและส่งข้อมูลที่ปลายด้านของคู่สายอย่างชัดเจน

ภาพที่ 2 เป็นการแสดงให้เห็นว่า LAN Card ที่ตัวคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับ Repeater Hub แบบ Full-Duplex ได้อย่างไร หากสังเกตจะเห็นว่า ทางด้านของส่วนที่ใช้ส่งข้อมูลและส่วนที่ใช้รับข้อมูลตรงที่ PMD,PMA, PCS รวมทั้ง MAC ได้มีการแยกจากกันออกมา ถ้ามองจากคอมพิวเตอร์หรือ Node การรับและส่งข้อมูลถือว่าเป็นการทำงานที่แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง

แหล่งที่มา http://www.paktho.ac.th/computerptk/introcom/FastEthernet.htm




ไม่มีความคิดเห็น: